
บทเรียนจากแผ่นดินไหว: ทำไม “พื้นที่โล่ง” จึงสำคัญในช่วงภัยพิบัติ?
6 วันที่แล้ว
1 min read
0
0
0

จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา แผ่นดินไหวเขย่าความรู้สึกของคนเมืองอย่างรุนแรง โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในตึกสูง หลายคนรีบวิ่งหนีลงมาบนท้องถนน บ้างยืนอัดแน่นอยู่ตามฟุตบาท บ้างหาพื้นที่ปลอดภัยไม่เจอ เหตุการณ์ที่กินเวลาเพียงไม่กี่นาทีนี้ กลับสะท้อนคำถามสำคัญที่เราทุกคนควรตระหนักว่า
… “เมืองของเรามีพื้นที่สำหรับอพยพเพียงพอหรือไม่?”
ในยุคที่ภัยพิบัติไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทั้งแผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุ และอ ัคคีภัย การมี “พื้นที่โล่งปลอดภัย” ไม่ใช่แค่เรื่องของผังเมือง แต่เป็นเรื่องของ ความอยู่รอดและความปลอดภัยของชีวิตคนเมือง
วันนี้ LAD ขอนำเสนอ 2 รูปแบบของพื้นที่โล่งภายในเมือง ที่สามารถช่วยรองรับเหตุฉุกเฉินในช่วงภัยพิบัติอย่างแผ่นดินไหว
พื้นที่สาธารณะ: ตัวช่วยสำคัญในยามฉุกเฉิน
สวนสาธารณะ ลานกว้าง หรือพื้นที่ชุมชนกลางแจ้ง เหล่านี้อาจดูธรรมดาในยามปกติ แต่ในช่วงภัยพิบัติ พื้นที่เหล่านี้กลับกลายเป็น "ที่พักพิง" และ "จุดรวมพล" ที่ช่วยรองรับการอพยพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นพื้นที่รวมตัวที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
ลดความแออัดและอันตรายจากการอพยพที่เร่งรีบ
สนับสนุนการทำงานของหน่วยกู้ภัยและระบบฉุกเฉิน
2. พื้นที่โล่งว่างจากกฎหมายควบคุมอาคาร: สิ่งที่ซ่อนอยู่ในกฎ...แต่ช่วยชีวิตได้
ในเชิงผังเมืองและกฎหมายควบคุมอาคาร มีหลายข้อกำหนดที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยและลดความเสี่ยงเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น
กฎเรื่องพื้นที่ว่างภายนอกอาคาร (OSR - Open Space Ratio) อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม เป็นตัวกำหนดว่าต้องเหลือพื้นที่ว่างบนพื้นดินเท่าไหร่
- อาคารที่อยู่อาศัยต้องมีพื้นที่ว่างภายนอก ไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด
- อาคารพาณิชย์และอาคารอื่นๆ ต้องมีพื้นที่ว่าง ไม่น้อยกว่า 10%
กฎระยะร่นอาคารและที่เว้นว่าง (Set Back Rules)
- กำหนดให้มีการเว้นระยะจากถนนและอาคารข้างเคียง แตกต่างไปตามขนาดและการใช้ประโยชน์อาคาร
- ช่วยลดความแออัด สร้างทางหนีไฟ และเปิดทางให้เข้าถึงอาคารได้ง่ายขึ้นในกรณีฉุกเฉิน
- ลดความเสี่ยงจากผลกระทบที่อาจลุกลามไปยังอาคารใกล้เคียงในสถานการณ์ภัยพิบัติ
FAR Bonus : แรงจูงใจให้นักพัฒนาออกแบบเมืองให้ดีขึ้น
- มาตรการส่งเสริมการพัฒนาด้วยการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) ช่วยกระตุ้นให้ผู้พัฒนาโครงการจัดทำพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้น เช่น พื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ในพื้นที่การพัฒนาของเอกชน
- หากออกแบบได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด โครงการสามารถขอเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่ก่อสร้างได้มากขึ้น
- เป็นแนวทางที่ส่งเสริมให้เมืองมีพื้นที่โล่งโดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณภาครัฐเพียงอย่างเดียว
ถึงเวลาออกแบบเมืองให้พร้อมรับมืออนาคต
เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า เมืองของเรายังขาดแคลนพื้นที่อพยพที่เพียงพอ การจัดสรรพื้นที่โล่งระหว่างอาคาร การเพิ่มสวนสาธารณะ และการออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ใช่แค่เรื่องของ “คุณภาพชีวิต” หากแต่เป็น “มาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน” ที่ทุกเมืองควรมี
ภัยพิบัติอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถลดความสูญเสียได้ ด้วยการออกแบบเมืองที่ดีกว่าเดิม!
แล้วคุณหล่ะ คิดว่าเมืองของเรามีพื้นที่เพียงพอสำหรับภัยพิบัติหรือไม่? แสดงความคิดเห็นกันได้เลย!
#แผ่นดินไหว#พื้นที่สาธารณะ #เมืองปลอดภัย #UrbanPlanning #DisasterPreparedness
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :
กฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๖
https://www.dpt.go.th/.../765563db350d4a754937059afd19fa6...