
“Smart Enough City” เมืองอัจฉริยะพอดีเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ก.ค. 1
1 min read
0
1
0

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2568 บริษัท LAD ได้รับเกียรติเข้าร่วมงานเสวนาเชิงวิชาการ “Rethinking Smart Cities: From Right-Sizing to Smart Enough” จัดโดย Urban Institute จาก Singapore Management University, Overseas Centre Bangkok และ Bangkok City Lab
ณ สามย่านมิตรทาวน์
ภายในงาน รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Creating a Smart Enough City” โดยนำเสนอแนวคิด “เมืองอัจฉริยะพอดี” ซึ่งมุ่งใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างพอเหมาะกับบริบทไทย ไม่ใช่เพื่อความล้ำสมัยเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองอย่างแท้จริง
หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ถูกกล่าวถึงคือ Bangkok City Lab – ห้องทดลองนโยบายเมืองที่ทำหน้าที่เป็น Sandbox สำหรับการทดสอบแนวทางใหม่ๆ โดยเฉพาะในบริบทที่ซับซ้อนของกรุงเทพฯ ทั้งด้านการขยายตัวของเมือง (urbanization) และปัญหาสังคมผู้สูงอายุ (aging society)
จากการเข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนมุมมอง LAD ขอถอดบทเรียนสำคัญ 4 ประเด็น ที่สะท้อนความหมายของ “Smart Enough” อย่างลึกซึ้ง ดังนี้:
1. SMART SYSTEM : ระบบที่ฉลาดพอ ไม่ทำงานซ้ำซ้อน
การออกแบบเมืองที่ฉลาด ไม่ได้แปลว่าทุกอย่างต้องดิจิทัลหรือไฮเทคเสมอไป หากแต่ต้องมีระบบที่ทำงานสัมพันธ์กัน อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเก็บข้อมูลเมือง (Big Data) ที่สามารถใช้ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน แทนที่จะต่างคนต่างเก็บ ข้อมูลไม่สอดคล้อง ส่งผลต่อคุณภาพการตัดสินใจ และความรวดเร็วโดยเฉพาะในเหตุฉุกเฉิน

2. SMART STRATEGY : กลยุทธ์ที่ฉลาด ทำให้น้อย ได้มาก
ตัวอย่างที่โดดเด่นคือการ เพ้นท์ทางม้าลายให้ชัดเจน ทำให้เกิดผลลัพธ์หลายด้าน ทั้งสร้างความปลอดภัย ดึงความสนใจรถยนต์ และทำให้เกิดถนนไดเอต (street diet) อย่างเป็นธรรมชาติ นี่คือตัวอย่างของการใช้ทรัพยากรน้อย แต่ได้ผลลัพ ธ์มากจากการออกแบบที่แม่นยำ

3. SMART PROBLEM-SOLVING : การแก้ปัญหาที่ต้นตอ มากกว่าปลายเหตุ
เมืองอัจฉริยะพอดี ไม่ใช่เมืองที่มีแต่เทคโนโลยีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่คือเมืองที่ตั้งคำถามเชิงระบบ เช่น ปัญหารถติดไม่ควรถูกตอบด้วยการขยายถนน แต่ควรย้อนกลับไปถามว่า “ทำไมรถถึงติด?” หรือ “ทำไมคนถึงขี่สวนบนทางเท้า?” คำตอบอาจซ่อนอยู่ในโครงสร้างเมืองที่ไม่ตอบโจทย์

4. SMART PLATFORM : แพลตฟอร์มการมีส่วนร่วมที่ฉลาด ใช้พลังของประชาชนในการเติมเต็มข้อมูล เพื่อแก้ปัญหาอย่างตรงจุด
แนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมก็เป็นอีกหนึ่งเสาหลักของ Smart Enough City ผ่านเครื่องมืออย่าง Traffy Fondue ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนรายงานปัญหา และติดตามการแก้ไขได้อย่างโปร่งใส ซึ่งเป็นต้นแบบการสื่อสารระหว่างรัฐ-ประชาชนที่น่าสนใจ

Smart Enough ≠ Less Smart
แนวคิด “เมืองฉลาดพอดี” ไม่ได้หมายถึงเมืองที่น้อยไป แต่คือเมืองที่ ออกแบบอย่างชาญฉลาด พอดีกับชีวิต และพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนของอนาคต (Future-Ready City) สิ่งสำคัญจึงไม่ใช่เทคโนโลยีมากหรือน้อย แต่คือ “เรารู้จักออกแบบการใช้เทคโนโลยีนั้นมากน้อยแค่ไหน”
แล้วคุณหล่ะ คิดว่า เมืองอัจฉริยะที่พอดี ควรมีหน้าตาอย่างไ ร?
#กทม #BangkokCityLab#smartenoughcity #urbanalarm
ขอขอบคุณข้อมูล และรูปภาพ
https://www.facebook.com/share/p/19RVkyaz4m/
https://pr-bangkok.com/?p=502638
https://citydata.traffy.in.th/login
https://www.bangkokbiznews.com/tech/1008063
https://car.kapook.com/view271422.html